รูปแบบความเสียหายในต่างประเทศ – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวในต่างประเทศ

ในหัวข้อนี้เสนอประวัติความความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในโลก โดยแสดงให้เห็นถึงที่มาและรูปแบบความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในเกือบทุกๆปีจะเกิดแผ่นดินไหวเกิดหลายพันครั้งกระจายทั่วโลกตามแนว รอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง บางเหตุการณ์ได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายที่สุดที่เคยบันทึกได้ใน ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้

  • แผ่นดินไหวนิวแมดริด (1811 New Madrid Earthquake) เกิดขึ้นเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ.2354 เมื่อรอยเลื่อนนิวแมดริด (New Madrid fault) ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตติดต่อของรัฐมิสซูรี เคนทักกี อาร์คันซอ และเทนเนสซี ได้สร้างแผ่นดินไหวขนาด2-8.1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้ระฆังของโบสถ์ในบอสตันที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,400 กิโลเมตรแกว่งและส่งเสียงดัง นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน คือพื้นดินถูกยกขึ้นจนแม่น้ำมิสซิสซิปปีไหลย้อนขึ้นทางต้นน้ำ โชคดีที่บริเวณนั้นมีประชากรเบาบางจึงมีคนเสียชีวิตน้อยเพียงรายเดียว และทรัพย์สินเสียหายอีกเล็กน้อย โดยรูปที่ 2-1 แสดงภาพบรรยายเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากการสภาพบ้านเรือนไม่มีอาคารขนาดใหญ่ ดังนั้นความเสียหายต่อโครงสร้างจึงเกิดน้อย
   
รูปที่ 2-1 ความเสียหายที่เกิดจากรอยเลื่อน New Madrid Earthquake ในประเทศสนรัฐอเมริกา
  • แผ่นดินไหวซานฟรานซิสโก (1906 San Francisco Earthquake) เกิดขึ้นเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ.2449 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ตามมาตราริกเตอร์ จากการขยับตัวของรอยเลื่อนซานแอน เดรียส (San Andres fault) โดยได้ถล่มโครงสร้างอาคารบ้านเรือนในเขตพื้นที่เบย์แอเรีย (Bay Area) ระบบท่อน้ำถูกทำลาย และรางรถไฟฟ้าบิดงอจนกลายเป็นแค่เศษเหล็ก แต่สาเหตุหลักของความเสียหายจำนวน 524 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และผู้คนเสียชีวิตถึง 3,000 รายนั้น เป็นผลมาจากเพลิงไหม้ที่เกิดตามมาและลุกลามไปทั่วเมืองอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการขาดน้ำสำหรับดับไฟ ประชาชนที่อาศัยห่างออกมาถึงรัฐโอเรกอนและทางตะวันตกของรัฐเนวาดายังรู้สึก ถึงการสั่นสะเทือนได้เป็นเวลาเกือบหนึ่งนาที (รูปที่ 22)
รูปที่ 2- 2 ความเสียหายที่เกิดจากของอาคารบ้านเรือนที่เกิดจาก San Francisco Earthquake
  • แผ่นดินไหวอาชกาบัต (1948 Ashgabat Earthquake) เมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ.2491 โดยมีความรุนแรงถึงขนาด 3 ตามมาตราริกเตอร์ เกิดขึ้นที่เมืองอาชกาบัตประเทศเติร์กเมนิสถาน ทำให้ประชาชนจำนวน 110,000 คน ซึ่งถือเป็นประชากรที่มากกว่าสองในสามในขณะนั้นเสียชีวิต นอกจากแรงสั่นสะเทือนจะทำให้โครงสร้างเกือบทั้งเมืองกลายเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยแล้ว ยังสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้เอเชียกลางอีกด้วย โดยรูปที่ 2-3 แสดงความเสียหายของบ้านเรือนที่พังยับเยินเนื่องจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
รูปที่ 2-3 ความเสียหายที่ใหญ่หลวงที่เกิดจาก Ashgabat Earthquake
  • แผ่นดินไหววาลดิเวีย (1960 Valdivia Earthquake) เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2503 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เท่ามีเคยมาการบันทึกสถิติ โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาด5 ตามมาตราริกเตอร์ การลำลายล้างเป็นลักษณะของชุดแผ่นดินไหวที่เกิดต่อเนื่องกันหลายชั่งโมง อีกทั้งยังเกิดคลื่นสึนามิซึ่งกวาดล้างทุกสิ่งทุกอย่างบนชายฝั่งชิลีก่อนที่จะเคลื่อนตัวข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปบดขยี้ฮาวายต่อ อีกทั้งยังก่อให้เกิดแผ่นดินถล่ม น้ำท่วม ไม่เพียงเท่านั้นเพียง 2 วัน หลังจากแผ่นดินไหวสงบได้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟ Puyehue ซึ่งจากรายงานพบว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,700 คน ทรัพย์สินเสียหายมูลค่า 675 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยความเสียในภาพรวมแสดงในรูปที่ 4 ในขณะที่ความเสียหายในโครงสร้างคอนกรีตแสดงในรูปที่ 2-4 ถึง 2-5
รูปที่ 2-4 ความเสียหายในภาพรวมของ Valdivia Earthquake ประเทศชิลี

รูปที่ 2-5 (ก) การวิบัติแบบเฉือนในคานลึกของโรงพยาบาลขนาด 600 เตียง

รูปที่ 2-5 (ข) ความเสียหายของกำแพงเฉือน สำหรับอาคารในรูปที่ 2-5 (ก)

รูปที่ 2-5 (ค) การระเบิดของคอนกรีตหุ้ม ของอาคารในรูปที่ 2-5 (ก)

รูปที่ 2-6 (ง) การวิบัติที่มุมของช่องเปิดของกำแพงเฉือน ในอาคารตามรูปที่ 2-5 (ก)
  • แผ่นดินไหวอะแลสกา (1964 Alaska Earthquake) หรือแผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ (Good Friday Earthquake) นับเป็นการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวที่นานกว่า 3 นาที วัดความรุนแรงขนาด 2 ตามมาตราริกเตอร์ ในพื้นที่ปรินซ์วิลเลี่ยมซาวด์ (Prince William Sound) แม้ว่าจะมีการเสียชีวิตเพียง 9 รายจากแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่สูงร่วม 60 เมตรที่บริเวณปากทางน้ำวาลเดซ (Valdez inlet) ได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 122 ราย และสร้างความเสียหายจำนวน 311 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (หรือเทียบเท่า 2.3 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) โดยเมืองแองเคอเรจ (Anchorage) เป็นพื้นที่ที่เสียหายมากที่สุด โดยรูปที่ 2-7 แสดงความเสียหายที่เกิดขึ้น ที่ในบริเวณเมืองเนื่องมาจากคลื่นสึนามิ และความเสียหายในส่วนของโครงสร้างคอนกรีต
รูปที่ 2-7 (ก) ความเสียหายในภาพรวมของ Alaska Earthquake เนื่องจากคลื่นสึนามิ
   
รูปที่ 2-7 (ข) การวิบัติของเสา เนื่องจาก Alaska Earthquake
รูปที่ 2-7 (ค) การวิบัติของคานลึก เนื่องจาก Alaska Earthquake
รูปที่ 2-7 (ง) อาคารและ ความเสียที่กำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก เนื่องจาก Alaska Earthquake
  • แผ่นดินไหวอันแคช (1970 Ancash Earthquake) เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2513 ซึ่งเป็นแผ่น ดินไหวขนาด 9 ตามมาตราริกเตอร์ เกิดขึ้นในประเทศเปรู บริเวณชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ ทำให้ทรัพย์สินเสียหายกว่า 500 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ ชาวเปรูเสียชีวิต 66,000 ราย ซึ่งส่วนมาเป็นผลมาจากตึกถล่ม นักธรณีวิทยากล่าวว่าแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก สู่แผ่นมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นแผ่นดินไหวรุนแรงตามแนวชายฝั่งจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก โดยรูปที่ 2-8แสดงความเสียหายจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
 
รูปที่ 2-8 (ก) ความเสียหายจาก Ancash Earthquake
รูปที่ 2-8 (ข) การวิบัติเสาและคานที่มีเหล็กเสริมตามขวางน้อย เนื่องจาก Ancash Earthquake
รูปที่ 2-8 (ค)  การวิบัติในเสาของโครงสร้างที่มีปริมาณเหล็กเสริมน้อย จาก Ancash Earthquake
  • แผ่นดินไหวถังฉาน (1976 Tangshan Earthquake) เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นดินไหวขนาด 5 ตามมาตรริกเตอร์ โดยนับเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดตามแนวของวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ซึ่งเป็นขอบที่มีการไหวสะเทือนเกิดขึ้นมากที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก แผ่นดินไหวสร้างความเสียหายให้กับเมืองตังชาน และเมืองทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของจีนที่มีผู้อยู่อาศัยถึง 1 ล้านคน ทางการจีนแจ้งว่ามียอดผู้เสียชีวิตประมาณ 250,000 ราย แต่บางแหล่งข่าวประเมินว่าตัวเลขน่าจะสูงถึง 655,000 ราย (รูปที่ 2-9 ถึง 2-11)

รูปที่ 2-9 การโก่งเดาะของรางรถไฟ และการวิบัติของตอม่อสะพาน เนื่องจาก Tangshan Earthquake

รูปที่ 2-10 ความเสียหายของอาคารโรงเรียนซึ่งกำลังก่อสร้างด้วยระบบ precast เนื่องจาก Tangshan Earthquake รูปที่ 2-11 ความเสียหายของสถานีรถไฟ ในส่วนของโครงหลังคอนกรีตเสริมเหล็กแบบโครงข้อหมุน และส่วนของเสา เนื่องจาก Tangshan Earthquake
  • แผ่นดินไหวโลมาพรีตา (1989 Loma Prieta Earthquake) เมื่อ 18 ตุลาคม พ.ศ.2532 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาด 9 ตามมาตราริกเตอร์ เกิดขึ้นบริเวณสวนสาธารณะแคนเดิลสติก (Candlestick Park) ในซานฟรานซิสโก ในขณะที่กำลังมีการแข่งขันเบสบอล 1989 World Series ในเกมที่สาม ทำให้ได้ชื่อว่า World Series Quake หรือ Quake of 89 มีผู้เสียชีวิต 63 ราย และทรัพย์สินเสียหายประมาณ 6 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่สร้างความเสียหายมากสุดที่เคยเกิดขึ้นในบริเวณเบย์แอเรีย (Bay Area) นับตั้งแต่แผ่นดินไหวซานฟรานซิสโกนับ เมื่อปี พ.ศ.2449 โดยรูปที่ 2-12 ถึง 2-14 แสดงความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
รูปที่ 2-12 ความเสียหายแบบชั้นอ่อน (soft story) ของอาคารอพาร์ทเม้นท์ เนื่องจาก Loma Prieta Earthquake
รูปที่ 2-12 ความเสียหายแบบการเฉือน (shear failure) ในตอม่อของทางยกระดับจำนวนมาก เนื่องจาก Loma Prieta Earthquake

รูปที่ 2-13 การวิบัติแบบการเฉือนเจาะทะลุในพื้นสะพาน เนื่องจาก Loma Prieta Earthquake

รูปที่ 2-14 การวิบัติโดยการดัดพังของพื้นสะพานเหล็ก เนื่องจาก Loma Prieta Earthquake
  • แผ่นดินไหวนอร์ทริดจ์ (1994 Northridge Earthquake) เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ.2537 โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาด 7 ตามมาตราริกเตอร์ ในนอร์ทริดจ์ (Northridge) รัฐแคลิฟอร์เนีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 60 ราย และความเสียหายมูลค่าประมาณ 44 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แรงสั่นสะเทือนทำลายอาคารมากว่า 40,000 หลังในเมืองเศรษฐกิจที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ลอสแองเจอลิส ออเรนจ์ เว็นทูรา และซาน เบอร์นาดิโน ถือว่าเป็นโชคดีที่แผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ไกลถึงรัฐยูทาห์และตอนเหนือของ เม็กซิโกนี้เกิดในเวลาเช้ามืด ซึ่งผู้คนยังไม่พลุกพล่านบนท้องถนน ตึกที่ทำงาน และอาคารจอดรถ ที่มีการถล่มเป็นส่วนใหญ่ รูปที่ 2-15 ถึง 2-19 แสดงความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
รูปที่ 2-15 (ก) การวิบัติของเสาในอาคารโรงจอดรถ เนื่องจาก Northridge Earthquake รูปที่ 2-15 (ข) การวิบัติแบบเฉือนของคานสะพานเนื่องจาก Northridge Earthquake
   
รูปที่ 2-16 (ก) การวิบัติที่จุดต่อคาน-เสา (beam-column joint failure) เนื่องจาก Northridge Earthquake
รูปที่ 2-16 (ข) การวิบัติแบบสิ้นเชิงของอาคารเนื่องจากการให้รายละเอียดของเหล็กเสริมในจุดต่อที่ไม่เหมาะสม ภายใต้ Northridge Earthquake
   
รูปที่ 2-17 การวิบัติเนื่องจากการเฉือนที่เสา (column shear failure) เนื่องจาก Northridge Earthquake
รูปที่ 2-18 การวิบัติเนื่องจากการเฉือนที่เสาสั้น (shear failure in short column) เนื่องจาก Northridge Earthquake
รูปที่ 2-19 การวิบัติเนื่องจากการดัดที่มีความเหนียวสูง ภายใต้ Northridge Earthquake เนื่องการให้รายละเอียดของเหล็กเสริมตามขวางที่มากเป็นพิเศษ
  • แผ่นดินไหวฮันชิน (1995 Great Hanshin Earthquake) เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ.2538 เป็นแผ่นดินไหวขนาด 9 ตามมาตราริกเตอร์ ในโกเบ ประเทศญี่ปุ่น หรือเรียกได้ว่า แผ่นดินไหวโกเบ เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่นี้คร่าชีวิตผู้คนกว่า 5,000 ราย และสร้างความเสียหายมากกว่า 100 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่ามีมูลค่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากอาคารมากกว่า 200,000 แห่งที่ถล่มและเสียหายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าครองชีพสูง นอกจากนี้ช่างเป็นเรื่องบังเอิญอย่างยิ่งที่แผ่นดินไหวในโกเบครั้งนี้ (ชาวญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ แผ่นดินไหวฮันชิน) เกิดขึ้นพร้อมกับการครบรอบหนึ่งปีของแผ่นดินไหวในนอร์ทริดจ์พอดี โดยรูปที่ 2-20 ถึง 2-25 แสดงความเสียหายในโครงสร้างอาคารคอนกรีตรูปแบบต่างๆ
   
รูปที่ 2-20 รอยร้าวเฉือนในกำแพงคอนกรีต เนื่องจากแผ่นดินไหว Great Hanshin Earthquake รูปที่ 2-21 การวิบัติของเสาเนื่องจากขาดปริมาณเหล็กเสริมตามขวางที่เหมาะสม ภายใต้ Great Hanshin Earthquake
รูปที่ 2-22 ความเสียหายแบบชั้นอ่อน (soft story) เนื่องจาก Great Hanshin Earthquake
รูปที่ 2-23 การวิบัติของเสาค้ำอุโมงค์รถไฟใต้ดินที่ Daikai Station เนื่องจาก Great Hanshin Earthquake รูปที่ 2-24 การวิบัติแบบพับฐาน (Pancake collapse เนื่องจาก Great Hanshin Earthquake
 
รูปที่ 2-25 ความเสียหายของทางยกระดับ Hanshin เนื่องจากการวิบัติของเสาตอม่อซึ่งมีปริมาณเหล็กเสริมตามขวางไม่เพียงพอ ภายใต้ Great Hanshin Earthquake
  • แผ่นดินไหวมหาสมุทรอินเดีย (2004 Indian Ocean Earthquake) เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นี้เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียนอกชายฝั่งตะวันตกของเกาะ สุมาตราวัดความรุนแรงขนาด 1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยก่อให้เกิดคลื่นสึนามิเกิดตามมา และได้คร่าชีวิตผู้คนใน 12 ประเทศอย่างน้อย 230,000 ราย (อาจสูงถึง 290,000 ราย) ซึ่งเป็นชาวอินโดนีเซียประมาณ 168,000 คน นักวิทยาศาสตร์อ้างว่าการสั่นสะเทือนครั้งนี้รุนแรงถึงขนาดทำให้การหมุน ของโลกเบนออกจากแกนเดิมเกือบหนึ่งนิ้ว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยไปตลอดกาล เพราะคลื่นสึนามิ ได้นำความวิบัติไปสู่ทุกประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย และทำให้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับภัย พิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิกันอย่างกว้างขวาง (รูปที่ 2-26)
รูปที่ 2-26 ความเสียหายของโครงสร้างจากสึนามิ ภายใต้ Indian Ocean Earthquake
  • แผ่นดินไหวแคชเมียร์ (2005 Kashmir Earthquake) เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ.2548 เป็นแผ่นดินไหวขนาด 6 ตามมาตราริกเตอร์ ในแคชเมียร์ ประเทศปากีสถาน สามารถรู้สึกได้เกือบทั่วทั้งปากีสถานและตอนเหนือของอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 80,000 ราย และบาดเจ็บเกือบ 70,000 คน อาคารบ้านเรือนถูกทำลายกว่าพันหลัง ดินถล่ม หินถล่ม และอาคารที่พังเสียหายเป็นสาเหตุให้ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย และพื้นที่บางแห่งถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือหลายวัน (รูปที่ 2-27)

รูปที่ 2-27 ความเสียหายของโครงสร้างเนื่องจาก Kashmir Earthquake

 
  • แผ่นดินไหวเสฉวน (2008 Sichuan Earthquake) เมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ใน ขณะที่ประเทศจีนกำลังเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกในเดือน สิงหาคม ของปีพ.ศ.2551 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ตามมาตราริกเตอร์ ทางตะวันออกของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ศูนย์กลางอยู่ที่ความลึก 19 กิโลเมตรจากผิวดิน และมีแผ่นดินไหวตามขนาด 5.0-6.0 ตามมาตราริกเตอร์ ตามมาอีกหลายครั้ง สิ่งก่อสร้างพังทลายหลายแห่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 69,000 คน และจัดเป็นอันดับที่ 21 ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด สำหรับประเทศไทยรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนโดยเฉพาะอาคารสูง สาเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจากการขยับตัวแบบย้อนกลับ (Reverse Fault) ของรอยเลื่อน ลองเมนฉาน (Longmenshan) ซึ่งวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ จากการขยับตัวครั้งนี้ส่งผลทำเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิวภูมิประเทศสูงกว่า 3 เมตร และเพิ่มหน่วยแรง (stress) ให้กับส่วนปลายทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของรอยเลื่อน ที่ซึ่งอาจจะปลดปล่อยพลังงานได้อีกในอนาคต โดยรูปที่ 2-28 แสดงความเสียหายของโครงสร้างที่เกิดจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
รูปที่ 2-28 (ก) ภาพของดินที่ไถลจากภูเขาลงมาถมทับบ้านเรือน ภายใต้ Sichuan Earthquake
รูปที่ 2-28 (ข) ความเสียหายในมุมต่างๆต่ออาคารเนื่องจาก Sichuan Earthquake
  • แผ่นดินไหวเฮติ (2010 Haiti Earthquake) เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ.2553 โดยหลังจากก้าวเข้าสู่ปีใหม่ 2553 ได้เพียงไม่นาน ก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นที่สาธารณรัฐเฮติ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะฮิสปันโยลา ในทะเลแคริบเบียน ส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกา เมื่อเวลาประมาณ 00 น. ของวันที่ 12 มกราคม ตามเวลาท้องถิ่น วัดแรงสั่นสะเทือนได้ถึงขนาด 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 16 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้ดินราว 10 กิโลเมตร แรง สั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ส่งผลให้ทำเนียบประธานาธิบดี ที่ทำการกระทรวงต่างๆ ตลอดจนที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ พังถล่ม รวมทั้งอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายจำนวนมาก และยังไม่ทราบชะตากรรมของเจ้าหน้าที่ ที่เชื่อว่าติดอยู่ภายใต้ซากอาคารเหล่านี้ โดยคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน และอาจจะมีผู้เสียชีวิตมากถึงแสนคน ทั้งนี้แผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 200 กว่าปีของเฮติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2313 และยังเกิดแผ่นดินไหวตามขนาด 5.1-5.9 ตามมาตราริกเตอร์ ตามมาอีกหลายครั้ง โดยรูปที่ 2-29 ถึง 2-32 แสดงความเสียหายของโครงสร้างเนื่องจากแผ่นดินไหวข้างต้น
รูปที่ 2-29 การวิบัติโดยชั้นอ่อน (soft story) ของอาคารในเฮติ เนื่องจาก Haiti Earthquake
รูปที่ 2-30 การวิบัติของอาคารแบบที่เรียกว่า เสาอ่อน-คานแข็ง (weak column-strong beam) เนื่องจาก Haiti Earthquake โดยเห็นจากคานหรือแผ่นพื้นขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บานเสาขนาดเล็กที่เสริมเหล็กในปริมาณที่น้อยมาก
รูปที่ 2-31 การวิบัติแบบพับฐานของโครงสร้างเนื่องจากการวิบัติของเสา และจุดต่อคานเสา ภายใต้ Haiti Earthquake รูปที่ 2-32 การวิบัติของจุดต่อ และคานโดยการเฉือน ภายใต้ Haiti Earthquake  ก่อให้เกิดการวิบัติแบบฉับพลันของโครงสร้าง
  • แผ่นดินไหวที่ไครสต์เชิร์ช (2011 Christchurch Earthquake) เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายรุนแรงแก่ไครสต์เชิร์ช ซึ่งเป็นนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 185 คน ในเหตุการณ์ซึ่งมีการบรรยายว่าเป็นหนึ่งในภัยพิบัติครั้งเลวร้ายที่สุดในยามสงบของชาติ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวบันทึกไว้ที่ขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางของแผ่นดินไหวห่างจากเมืองลิตเทลตันไปทางตะวันตก 2 กิโลเมตร และห่างจากใจกลางนครไครสต์เชิร์ชไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 10 กิโลเมตร ซึ่งเป็นนครที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับสองในนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ยังมีรายงานของ  แผ่นดินไหวตามภาวะดินเหลว (Liquefaction) ทางชานนครทางตะวันออก ทำให้มีทรายแป้ง (slit) ประมาณ 400,000 ตัน ล้นออกมาตามพื้นดิน  โดยแผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นให้หลังจากแผ่นดินไหวที่เขตแคนเทอเบอรีขนาด 7.1 ตามมาตราริกเตอร์ เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553 ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญแก่ไครสต์เชิร์ชและเขตแคนเทอร์เบอรีตอนกลาง แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตโดยตรง (รูปที่ 2-33)
รูปที่ 2-33 ความเสียหายที่เกิดจาก Christchurch Earthquake
  • แผ่นดินไหวโทโฮะกุ (2011 Tohoku Earthquake) เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ.2554 ซึ่งวัดแรงสั่นสะเทือนได้ขนาด 0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะ โทโฮะกุ ลึกลงไปใต้พื้นดิน 32 กิโลเมตร จากแรงสั่นสะเทือนที่วัดได้ นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และเป็นเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงเป็นอันดับสี่ของโลกเท่าที่มีการ บันทึกได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2443 โดยเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวได้ เคลื่อนเกาะฮอนชูไปทางตะวันออก 2.4 เมตร และเคลื่อนแกนหมุนของโลกไปเกือบ 10 เซนติเมตร ตามข้อมูลของสถาบันธรณีฟิสิกส์และวิทยาภูเขาไฟแห่งชาติของอิตาลี แผ่นดินไหวดังกล่าวได้ย้ายตำแหน่งแกนโลกไป 25 เซนติเมตร การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกเล็กน้อยหลายอย่าง รวมไปถึงความยาวของวันและความเอียงของโลก อัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้วันหนึ่งสั้นลง 1.8 ไมโครวินาทีเนื่องจากการกระจายมวลของโลกใหม่ แผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของหมู่เกาะตอนเหนือของญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ 1 และ 2 คลื่นสึนามิซัดข้ามกำแพงและทำลายระบบกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรอง จึงเกิดปัญหาในการลดความร้อน และทำให้เกิดระเบิด 2 ครั้งที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 1 และทำให้กัมมันตภาพรังสีในบริเวณรอบข้างมีระดับสูงขึ้น ประชาชนกว่า 200,000 คนในบริเวณใกล้เคียงต้องอพยพหนี จากเหตุการณ์นี้ ธนาคารโลกประมาณการความเสียหายระหว่าง 122,000 ถึง 235,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิอาจมีมูลค่าสูงถึง 309,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มันเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีการ บันทึกมา จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 9,408 ราย สูญหาย 14,716 คน ได้รับบาดเจ็บ 2,746 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกจำนวนมาก (รูปที่ 2-34)

รูปที่ 2-34 ความเสียหายเนื่องจากคลื่นสึนามิ จาก Tohoku Earthquake

 
  • แผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล (2015 Nepal Earthquake) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 ขนาด 7.8 ตามมาตราริกเตอร์ และมีความรุนแรงเมอร์กัลลีสูงสุด IX (รุนแรง) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองลัมชุง ประเทศเนปาล ไปทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร และศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 15 กิโลเมตร นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศเนปาลนับแต่เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล–รัฐพิหาร พ.ศ. 2477 จนถึงวันที่ 27 เมษายน มีรายงานผู้ต้องอุบัติเหตุในประเทศเนปาลและพื้นที่ใกล้เคียงของประเทศอินเดีย, จีน และบังกลาเทศ แผ่นดินไหวนี้ยังทำให้เกิดหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 คน ยอดผู้เสียชีวิตเกินเหตุการณ์หิมะถล่มที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ พ.ศ. 2557 ทำให้เป็นวันที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดบนเขาดังกล่าว อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษที่แหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย รวมทั้งบางส่วนของจัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์ โดยข้อมูลปัจจุบัน (3 พฤษภาคม 2558) ยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 7,192 คน และบาดเจ็บกว่า 14,000 คน โดยรูปที่ 2-35 แสดงความเสียหายต่อโครงสร้างเนื่องจากแผ่นดินไหวดังกล่าว
รูปที่ 2-35 ความเสียหายต่อโครงสร้างเนื่องจาก Nepal Earthquake ซึ่งพบทั้งการวิบัติของอาคารแบบชั้นอ่อน แต่โดยมากความสูญเสียเกิดจากการพังทลายของอาคารที่สร้างจากอิฐก่อ

การเลือกรูปแบบการเสริมกำลังที่เหมาะสม

จากการที่ได้สำรวจความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวต่างๆทั่วโลก จะสามารถสรุปได้ว่าความเสียหายต่อชีวิตอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • เกิดความเสียหายน้อย เนื่องจากแผ่นดินไหวไม่ได้เกิด ณ ใจกลางชุมชน เช่น New Madrid Earthquake และ Alaska Earthquake หรือเมื่อโครงสร้างได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหว เช่น Christchurch Earthquake, Loma Prieta Earthquake และ Northridge Earthquake
  • เกิดความเสียหายมากแต่ไม่ได้เกิดจากแผ่นดินไหว แต่เกิดการผลของแผ่นดินไหว เช่น การคร่าชีวิตเนื่องจากคลื่นสึนามิ (ดู Alaska Earthquake, Indian Ocean Earthquake และ Tohoku Earthquake) และการเกิดเพลิงไหม้หลังจากแผ่นดินไหว (ดู San Francisco Earthquake และ Great Hanshin Earthquake)
  • เกิดความเสียหายมาก กรณี 1 เนื่องจากแม้ว่าจะเลือกใช้วัสดุที่มีความสามารถในการต้านแผ่นดินไหว แต่การออกแบบ รวมถึงการให้รายละเอียดเหล็กเสริมยังไม่เหมาะสม จึงยังไม่สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้อย่างสมบูรณ์ เช่น Valdivia Earthquake, Ancash Earthquake, Tangshan Earthquake, Sichuan Earthquake และ Haiti Earthquake
  • เกิดความเสียหายมาก กรณี 2 เนื่องจากโครงสร้างไม่มีถูกออกแบบให้มีความสามารถในการต้านแรงแผ่นดินไหว ซึ่งโดยมากจะเป็นประเทศที่นิยมปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนด้วยอิฐก่อ ทำให้เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจึงเกิดการพังทลายและล้มทับผู้คนจนเสียชีวิต เช่น Ashgabat Earthquake, Kashmir Earthquake และ Nepal Earthquake

ตามกรณีที่ 2 การเสริมกำลังต้องมุ่งเน้นจะทำมิให้ก้อนอิฐจำนวนมากแตกหักลงมาขณะเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถทำได้โดยการเสริมโครงเคร่าเหล็กเพื่อประคองกำแพง หรือเคลือบด้วยวัสดุที่มีลักษณะเป็นกาวเหนียวยืดหยุ่น รวมถึงทำการห่มโครงสร้างรับน้ำหนักเช่น กำแพงรับน้ำหนักด้วยคอนกรีต หรือพอลิเมอร์เสริมเส้นใย ตามกรณีที่ 1 การเสริมกำลังจะมีมาตรฐานรองรับตามรูปแบบการวิบัติที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้

  • การป้องกันการวิบัติเนื่องจากชั้นอ่อน (Soft-story failure) นั่นคือกรณีที่โครงสร้างชั้นล่างเปิดโล่ง จนเป็นสาเหตุให้เกิดพับงอของเสาในชั้นล่างและทำให้โครงสร้างด้านบนวิบัติลงมาชนิดเป็นก้อน (ดูรูปที่ 2-12 , 2-22, 2-28 (ข), 2-29 และ 2-35) โดยการแก้ปัญหาอาจทำการเสริมกำแพงคอนกรีต หรือทำการก่อผนังอิฐรับแรง หรือทำการเสริมโครงค้ำยันทแยง
  • การป้องกันการวิบัติเนื่องจากการวิบัติแบบเฉือนของเสา (column shear failure) หรือพิจารณาได้จากรูปที่ 2-5 (ค), 2-7 (ข), 2-7 (ค), 2-8 (ข) , 2-8 (ค), 2-12, 2-16 (ก), 2-17, 2-18, 2-21, 2-23 และ 2-25 ซึ่งสามารถทำได้โดยห่มเสาด้วยแผ่นเหล็ก ห่มเสาด้วยคอนกรีตหรือห่มเสาด้วยพอลิเมอร์เสริมเส้นใย
  • การป้องกันการวิบัติโดยการเฉือนทะลุ (Punching shear) ดังแสดงในรูปที่ 2-13 โดยการเสริมแป้นหัวเสา (steel collar หรือ concrete collar)
  • การป้องกันการวิบัติโดยการเฉือนของจุดต่อ (Joint shear failure) เนื่องจากการวิบัติของจุดต่อ เท่ากับเป็นการวิบัติของอาคาร เนื่องจากจุดต่อเป็นที่รองรับน้ำหนักจากเสา (ดูรูปที่ 2-12, 2-16 (ก), 2-16 (ข) และ 2-32) โดยการเสริมกำลังที่เหมาะสมคือการขยายจุดต่อ หรือ planer joint expansion

การป้องกันการวิบัติของคานสั้น (Shear failure in short beams) ซึ่งโดยมากหลีกเลี่ยงยากในการก่อสร้างอาคาร ดังแสดงในรูปที่ 2-5 (ก) และ 2-7 (ค) ทั้งนี้การเสริมกำลังอาจต้องเลือกใช้วัสดุที่ให้กำลังสูงพันเพื่อรับแรงเฉือน เช่น พอลิเมอร์เสริมเส้นใย เป็นต้น