ความรู้แผ่นดินไหวสำหรับประชาชน

ที่ผ่านมาจะพบว่าประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยจากเครื่องมือตรวจวัดของกรมทรัพยากรธรณี พบว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอแม่ลาว โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปราว 6 กิโลเมตร จากพื้นดิน และเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายร้อยครั้ง เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โครงสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย โรงเรียนเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน ดังแสดงในรูปที่ 2 จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหวมากขึ้น ซึ่งจากการเข้าสำรวจการก่อสร้าง (ดูรูปที่ 3) หลังจากที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวไปได้ประมาณ 2 ปี พบว่าบ้านพักอาศัย อาคารสำคัญในจังหวัดเชียงราย ได้เห็นความสำคัญของการออกแบบเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตกันมากขึ้นเมื่อเราพิจารณาถึงเมืองหลวงกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวเสียทีเดียว เนื่องจากกรุงเทพฯมีปัจจัยเสี่ยง 3 ประการคือ กรุงเทพฯตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนที่ขยายแรงสั่นสะเทือนได้มากรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ใกล้ๆกรุงเทพฯนั่นคือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีมีระยะห่างจากกรุงเทพฯราวๆ 300 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งจัดเป็นระยะอันตรายที่ก่อให้เกิดผลเสียหายกับอาคารบ้านเรือนในกรุงเทพฯได้ ในอดีตที่ผ่านเมื่อปี 2526 รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์มาแล้ว จึงนับเป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลังอยู่อาคารบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างต่างๆในกรุงเทพฯแทบจะไม่ได้ออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหวถึงแม้ว่าจะมีเหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนจะเกิดขึ้นถี่เพิ่มขึ้นกว่าในอดีต แต่เมื่อย้อนกลับไปดูสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก 10 ปีย้อนหลังจะพบว่า โลกของเรามีแผ่นดินไหวใหญ่น้อยเกิดขึ้นปีละราว 500,000 ครั้ง … Read more

ที่มาของศูนย์

สืบเนื่องจากในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นทั่วโลกบ่อยครั้งมากขึ้น เริ่มต้นจากที่นครไครสต์เชิรช์ ประเทศนิวซีแลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชู ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ตามมาด้วยการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่าใกล้ชายแดนไทยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 และในปี 2555 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.6 และ 8.2 ริกเตอร์ที่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 และแผ่นดินไหวระดับกลางที่เกาะภูเก็ตเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 และล่าสุดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ที่อำเภอพานเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อสาธารณชนดังปรากฏเป็นข่าวตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในหลายๆประเทศเช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศนิวซีแลนด์ แม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหวที่ดีก็ตาม แต่ก็ยังได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ภัยแผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติที่สำคัญ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ตั้งอยู่ในแนววงแหวนไฟที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง แต่ประเทศไทยก็มีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ถึง 13 รอยเลื่อน ซึ่งบางรอยเลื่อนสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางคือขนาด 5-6 ริกเตอร์ ขึ้นไปได้ และหากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น ก็สามารถทำลายบ้านเรือนให้เสียหายและทำให้ประชาชนเสียชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่นแผ่นดินไหวขนาด … Read more

จุดประสงค์

จุดประสงค์ของการจัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลทางด้านแผ่นดินไหวแห่งประเทศไทย (TEIC) มีดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นการนำความรู้รวมถึงผลงานวิจัยที่ได้ศึกษาภายใต้ทุนที่ได้รับจาก สกว. ออกมาใช้งานอย่างเป็นประโยชน์ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และเข้าถึงโดยสะดวก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแผ่นดินไหวต่อประชาชน วิศวกร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนได้ทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวต่างๆของ สกว. เพื่อให้ประชาชนได้ติดตาม และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้

การให้บริการ

ขอบข่ายการให้บริการของ TEIC มีดังต่อไปนี้ ให้บริการความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งแบ่งแยกไว้ทั้งความรู้อย่างง่ายสำหรับประชาชน และความรู้เฉพาะตัวสำหรับวิศวกรโครงสร้าง แนะนำแหล่งข้อมูลเชิงลึกเพื่อการศึกษาต่อเนื่องและยั่งยืน

แนวทางการประเมินโครงสร้าง

แนวทางการประเมินอาคารต้านทานแผ่นดินไหว การประเมินความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวของอาคาร มักนิยมนำมาตรวจสอบอาคารที่มีอยู่เดิม เพื่อพิจารณาระดับสมรรถะในการต้านทานแผ่นดินไหวของอาคาร ความมั่นคงแข็งแรง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้ทราบตำแหน่งที่มีความอ่อนแอของอาคาร ซึ่งสามารถนำมาใช้วางแผนการซ่อมเสริมกำลังอาคารได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานการประเมินกำลังโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหวที่นิยมใช้และได้รับการยอมรับได้แก่ มาตรฐานนิวซีแลนด์ (New Zealand Society for Earthquake Engineering, 2006 , NZSEE) มาตรฐานอเมริกัน (American Society of Civil Engineers, 2007, ASCE/SEI41-06) มาตรฐานญี่ปุ่น (The Japan Building Disaster Prevention Association 2001) มาตรฐานยุโรป (European Committee for Standardization, 2004, EC8-03) มาตรฐานแต่ละมาตรฐาน มีวิธีการและปรัชญาในการประเมินที่ทั้งเหมือน และแตกต่างกันออกไป  โดยมุ่งเน้นให้สามารถประเมินความสามารถของอาคารให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมจริงมากที่สุด สำหรับประเทศไทย ได้สร้างแนวทางการประเมินขึ้นเอง ได้แก่ มาตรฐานการประเมินและการเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ของกรมโยธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (มยผ. 1303-57) เป็นมาตรฐานที่มีความทันสมัย … Read more

นิยามศัพท์ที่จำเป็นต่อการออกแบบต้านแผ่นดินไหว – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

admin04/07/201624/07/2016 ลักษณะโครงสร้างที่เสี่ยง การออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวเป็นสาขาวิชาที่วิศวกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยนัก จึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆที่วิศวกรจำเป็นต้องรู้เป็นเบื้องต้น กำแพงรับแรงเฉือน (Shear wall) : กำแพงที่ออกแบบให้ต้านทานแรงทางข้าง (ในด้านที่ขนานกับระนาบของตัวกำแพง) (รูปที่ 1.2 และ 1.3) กำแพงรับแรงเฉือนถือเป็นโครงสร้างหลักที่ให้ความแข็งแรงแก่โครงสร้างในการต้านแรงแผ่นดินไหว     รูปที่ 1.2 กำแพงรับแรงเฉือนคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปที่ 1.3 แรงกระทำทางข้างที่กระทำต่อกำแพงรับแรงเฉือน โครงแกงแนง (Braced Frame): ระบบที่ใช้โครงข้อหมุนในระนาบดิ่งทำหน้าที่ต้านทานแรงด้านข้างโดยรอบ รอยต่อเป็นได้ทั้งแบบตรงศูนย์และเยื้องศูนย์ (รูปที่ 1.4) การเสริมโครงแกงแนงนับว่าเป็นวิธีที่เพิ่มกำลังต้านทานแรงด้านข้างให้แก่โครงสร้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งโครงแกงแนงสามารถใช้ได้ทั้งสำหรับการออกแบบอาคารใหม่และการเสริมความแข็งแรงให้แก่อาคารเก่า (รูปที่ 1.5) รูปที่ 1.4 โครงแกงแนง รูปที่ 1.5 การเสริมความแข็งแรงอาคารเก่าด้วยการติดตั้งโครงแกงแนง โครงต้านแรงดัด (Moment Resisting Frame) : โครงที่มีองค์อาคารได้แก่ คานและเสา มายึดเข้าด้วยกันที่รอยต่อ ซึ่งสามารถต้านทานแรงโดยแรงดัดในองค์อาคารเป็นหลัก (รูปที่ 1.6) โครงต้านทานแรงดัดที่มีความเหนียว (Ductile Moment Resisting … Read more

ขอบข่ายในการนำ มยผ. 1301-54 ไปใช้งาน – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว หรือ มยผ. 1301-54 เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ในมาตรฐานฉบับนี้มีขอบข่ายการใช้งานดังนี้ มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ฉบับนี้เป็นข้อเพิ่มเติมมาจากกฎกระทรวงการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารควบคุมตามกฎกระทรวง มีความมั่นคงและปลอดภัย ข้อกำหนดในมาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมงานก่อสร้างถนน สะพาน เขื่อน อุโมงค์และอาคารชั่วคราว ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างสำหรับการจำแนกอาคารตามลักษณะและรูปทรงของอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดรูปทรงของอาคารในกฎกระทรวง ข้อกำหนดการเสริมเหล็กของโครงต้านแรงดัดที่มีความเหนียวจำกัด เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับการออกแบบโครงสร้างอาคารที่ใช้โครงต้านแรงดัดเป็นโครงสร้างต้านแรงด้านข้างและเป็นข้อกำหนดที่นอกเหนือจากข้อกำหนดคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป ข้อกำหนดการเสริมเหล็กของโครงต้านแรงดัดที่มีความเหนียวจำกัด ไม่รวมถึงองค์อาคารที่ไม่ระบุให้เป็นส่วนของระบบรับแรงทางข้าง (Members not Designed as Part of the Lateral-Force-Resisting System) ยกเว้นแผ่นพื้นสองทางแบบไร้คานที่ไม่เป็นส่วนของระบบรับแรงด้านข้างที่ผู้ออกแบบจะต้องปฏิบัติตามข้อ 7.4 และ 4.8 ของ มยผ. 1301-54 หากไม่มีการระบุเป็นอย่างอื่น การรวมน้ำหนักบรรทุก (Load Combinations) ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยให้แทนผลของแรงลมด้วยแรงแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวง ข้อกำหนดนี้พิจารณาว่าแรงแผ่นดินไหวเป็นแรงทางข้างเช่นเดียวกับแรงลม ดังนั้นหลักการรวมน้ำหนักบรรทุกจึงใช้แบบเดียวกับแรงลม … Read more

ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย – Thailand Earthquake Information Center

แผ่นดินไหวเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไร แม้สถิติการเกิดแผ่นดินไหวย้อนหลังไป 10 ปี จะยังไม่พบสิ่งบ่งชี้ผิดปกติ และดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นติดๆกันในช่วงต้นปี 2554 นั้นจะเป็นเรื่องบังเอิญ แต่นี่คือสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไรในโลกนี้ก็เป็นไปได้ และประเทศไทยก็ไม่ได้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวโดยสิ้นเชิงเสียทีเดียว ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมามีแผ่นดินไหวที่มีขนาดเกิน 5 ริกเตอร์ขึ้นไปเกิดขึ้นในประเทศไทยนับจำนวนครั้งได้ถึง 8 ครั้งด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าเกิดแผ่นดินไหวระดับกลางขึ้น 1 ครั้งทุกๆ 4-5 ปี แผ่นดินไหวระดับ 5 ริกเตอร์เป็นแผ่นดินไหวที่อาจทาลายโครงสร้างอาคารบ้านเรือนได้หากเกิดขึ้นอยู่ใกล้ๆที่ชุมชน แม้ในอดีตที่ผ่านมา แผ่นดินไหวจะไม่ได้ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนเสียหายจนถึงขั้นพังถล่มลงมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่กว่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นก็ได้เกิดขึ้นมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์คลื่นสึนามิที่ซัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนทาให้มีผู้เสียชีวิตจานวนหลายพันคนในประเทศไทย แม้ว่าแผ่นดินไหวไม่อาจทานายล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไร แต่หากมีการเตรียมความพร้อมอาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างที่ดี ก็จะช่วยลดความสูญเสียลงได้มาก ประเทศไทยถือว่าโชคดีที่ธรรมชาติไม่ได้โหดร้ายมากจนเกินไป หากมีการเตรียมรับมือที่ดีแล้ว เชื่อว่าประเทศไทยจะปลอดภัยจากแผ่นดินไหวได้อย่างแน่นอน การเตรียมความพร้อมด้านอาคารได้แก่ การก่อสร้างอาคารให้ต้านแผ่นดินไหว และการเสริมความแข็งแรงอาคารเก่าให้ต้านแผ่นดินไหวได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทาได้และควรกระทา เพราะธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนมาเป็นระยะๆแล้ว และหากเรายังคงประมาทและไม่ใส่ใจเสียงเตือนจากธรรมชาติ ก็อาจจะต้องพบกับความสูญเสียแบบที่ไม่คาดคิดมาก่อน ผมหวังว่าเราจะเตรียมความพร้อมอาคารของเราให้รับมือแผ่นดินไหวได้ และคงจะไม่สายเกินไปที่จะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เวบไซต์นี้ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเสี่ยงของประเทศไทยต่อแผ่นดินไหวและสึนามิและแนวทางการรับมือที่ประชาชนควรรับทราบ โดยข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลงานจากงานวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ท้ายสุดนี้ ผมขอขอบคุณสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยหรือ สกว. … Read more

หลักสำคัญของการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหว – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

admin04/07/201624/07/2016 ลักษณะโครงสร้างที่เสี่ยง การออกแบบโครงสร้างต้านแผ่นดินไหวจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นการออกแบบที่สำคัญ 4 ด้านหลักๆ ดังรูปที่ 1.1 ได้แก่ (1) รูปทรงของอาคาร (2) กำลังต้านแรงแผ่นดินไหว (3) การจัดรายละเอียดการเสริมเหล็กเพื่อให้โครงสร้างมีความเหนียว และ (4) เสถียรภาพหรือความมั่นคงของอาคาร ซึ่งอธิบายในแต่ละหัวข้อดังนี้ รูปทรงของอาคาร อาคารอาจจะมีรูปทรงที่สมมาตร มีความสม่ำเสมอของการกระจายตัวของมวล ความแข็งแกร่ง กำลังรับน้ำหนัก หรืออาจเป็นอาคารที่มีรูปทรงที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะมีผลต่อแรงที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง ซึ่งพบว่าหากอาคารที่รูปทรงที่ดี มีความสม่ำเสมอเรียบง่ายในรูปทรงของโครงสร้างจะมีพฤติกรรมในการต้านแผ่นดินไหวที่ดีกว่าอาคารที่มีรูปทรงที่ไม่สม่ำเสมอ กำลังต้านแรงแผ่นดินไหว หมายถึง อาคารจะต้องมีกำลังรับน้ำหนักเพียงพอที่จะต้านแรงแผ่นดินไหวที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับปี พ.ศ. 2550 ได้ ความเหนียว หมายถึง จะต้องจัดรายละเอียดการเสริมเหล็กในบริเวณต่างๆขององค์อาคารเพื่อให้อาคารมีการโยกตัวได้มากโดยไม่สูญเสียกำลังรับแรงด้านข้าง เสถียรภาพ หรือ ความมั่นคงของอาคาร หมายถึง ความสามารถในการรองรับน้ำหนักในแนวดิ่ง หรือน้ำหนักของตัวอาคารเองภายใต้สภาวะที่มีแรงด้านข้างมากระทำแล้วทำให้อาคารเกิดการเซออกทางด้านข้าง ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับรูปทรงของอาคารและการจัดรายละเอียดการเสริมเหล็กให้มีความเหนียว จะถูกกำหนดในมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) หรือมาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวหรือ มยผ.1301-54 รูปที่ 1.1 หลักสำคัญของการออกแบบต้านแผ่นดินไหว ขอบข่ายในการนำ มยผ. 1301-54 ไปใช้งาน →

รูปแบบความเสียหายในต่างประเทศ – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวในต่างประเทศ ในหัวข้อนี้เสนอประวัติความความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในโลก โดยแสดงให้เห็นถึงที่มาและรูปแบบความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ในเกือบทุกๆปีจะเกิดแผ่นดินไหวเกิดหลายพันครั้งกระจายทั่วโลกตามแนว รอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง บางเหตุการณ์ได้สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายที่สุดที่เคยบันทึกได้ใน ประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน  มีดังนี้ แผ่นดินไหวนิวแมดริด (1811 New Madrid Earthquake) เกิดขึ้นเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ.2354 เมื่อรอยเลื่อนนิวแมดริด (New Madrid fault) ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตติดต่อของรัฐมิสซูรี เคนทักกี อาร์คันซอ และเทนเนสซี ได้สร้างแผ่นดินไหวขนาด2-8.1 ตามมาตราริกเตอร์ โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้ระฆังของโบสถ์ในบอสตันที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,400 กิโลเมตรแกว่งและส่งเสียงดัง นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน คือพื้นดินถูกยกขึ้นจนแม่น้ำมิสซิสซิปปีไหลย้อนขึ้นทางต้นน้ำ โชคดีที่บริเวณนั้นมีประชากรเบาบางจึงมีคนเสียชีวิตน้อยเพียงรายเดียว และทรัพย์สินเสียหายอีกเล็กน้อย โดยรูปที่ 2-1 แสดงภาพบรรยายเหตุการณ์ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากการสภาพบ้านเรือนไม่มีอาคารขนาดใหญ่ ดังนั้นความเสียหายต่อโครงสร้างจึงเกิดน้อย     รูปที่ 2-1 ความเสียหายที่เกิดจากรอยเลื่อน New Madrid Earthquake ในประเทศสนรัฐอเมริกา แผ่นดินไหวซานฟรานซิสโก (1906 San Francisco Earthquake) เกิดขึ้นเมื่อ … Read more