ลักษณะโครงสร้างที่เสี่ยง – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพหรือรูปทรงของโครงสร้าง สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบคือ (1) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่ง (Vertical Structural Irregularities) และ (2) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวราบ (Plan Structural Irregularities) 1.5.1   ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่ง (Vertical Structural Irregularities) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ความไม่สม่ำเสมอของสติฟเนส (Stiffness irregularity) หรือชั้นที่อ่อน (Soft story) โดย ชั้นที่อ่อนหมายถึง ชั้นที่มีสติฟเนสทางข้าง (Lateral Stiffness) มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 70 ของชั้นที่เหนือถัดขึ้นไปหรือน้อยกว่าร้อยละ 80…

การพิจารณาอาคารว่ามีลักษณะสม่ำเสมอตามกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ 1.4.1           บริเวณที่ 1 อาคารในบริเวณที่ 1 จะถือว่ามีลักษณะไม่สม่ำเสมอหากมีความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพหรือรูปทรงของโครงสร้างเป็นไปตามนี้ (1) อาคารที่มีประเภทกิจกรรมการใช้อาคารดังนี้ อาคารที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของสาธารณชน เช่น สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานีดับเพลิง อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สื่อสาร ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรงผลิตและเก็บน้ำประปา อาคารเก็บวัตถุอันตราย เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสีหรือวัตถุที่ระเบิดได้ อาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้อาคารได้ตั้งแต่สามร้อยคนขึ้นไป ได้แก่ โรงมหรสพ หอประชุม หอศิลป์ พิพิธภัณสถาน หอสมุด ศาสนสถาน สนามกีฬา อัฒจันทร์ ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานีรถและโรงแรม สถานศึกษาที่รับนักเรียนหรือนักศึกษาได้ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบคนขึ้นไป…

การออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวเป็นสาขาวิชาที่วิศวกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยนัก จึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆที่วิศวกรจำเป็นต้องรู้เป็นเบื้องต้น

มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว หรือ มยผ. 1301-54 เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ในมาตรฐานฉบับนี้มีขอบข่ายการใช้งานดังนี้   มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ฉบับนี้เป็นข้อเพิ่มเติมมาจากกฎกระทรวงการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารควบคุมตามกฎกระทรวง มีความมั่นคงและปลอดภัย ข้อกำหนดในมาตรฐานนี้ไม่ครอบคลุมงานก่อสร้างถนน สะพาน เขื่อน อุโมงค์และอาคารชั่วคราว ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างสำหรับการจำแนกอาคารตามลักษณะและรูปทรงของอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดรูปทรงของอาคารในกฎกระทรวง ข้อกำหนดการเสริมเหล็กของโครงต้านแรงดัดที่มีความเหนียวจำกัด เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับการออกแบบโครงสร้างอาคารที่ใช้โครงต้านแรงดัดเป็นโครงสร้างต้านแรงด้านข้างและเป็นข้อกำหนดที่นอกเหนือจากข้อกำหนดคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป ข้อกำหนดการเสริมเหล็กของโครงต้านแรงดัดที่มีความเหนียวจำกัด ไม่รวมถึงองค์อาคารที่ไม่ระบุให้เป็นส่วนของระบบรับแรงทางข้าง (Members not Designed as Part of the Lateral-Force-Resisting System) ยกเว้นแผ่นพื้นสองทางแบบไร้คานที่ไม่เป็นส่วนของระบบรับแรงด้านข้างที่ผู้ออกแบบจะต้องปฏิบัติตามข้อ 7.4 และ 4.8…

การออกแบบโครงสร้างต้านแผ่นดินไหวจำเป็นต้องพิจารณาประเด็นการออกแบบที่สำคัญ