ที่มาของศูนย์ – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

สืบเนื่องจากในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวได้เกิดขึ้นทั่วโลกบ่อยครั้งมากขึ้น เริ่มต้นจากที่นครไครสต์เชิรช์ ประเทศนิวซีแลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์  2554 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอนชู ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ตามมาด้วยการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่าใกล้ชายแดนไทยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2554 และในปี 2555 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.6 และ 8.2 ริกเตอร์ที่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 และแผ่นดินไหวระดับกลางที่เกาะภูเก็ตเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 และล่าสุดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ ที่อำเภอพานเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อสาธารณชนดังปรากฏเป็นข่าวตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในหลายๆประเทศเช่น ประเทศญี่ปุ่น และประเทศนิวซีแลนด์ แม้ว่าจะมีการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหวที่ดีก็ตาม แต่ก็ยังได้รับความเสียหายอย่างหนักและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่ Christchurch ประเทศ New Zealand เมื่อ ค.ศ.2011 (ที่มา : http://www.stuff.co.nz/) แผ่นดินไหวขนาด 9 … Read more

วิธีการเสริมกำลังอย่างง่าย – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ขั้นตอนการเสริมกำลังโครงสร้าง การเสริมกำลังมีหลายวิธี แต่วิธีที่จะแนะนำในหัวข้อนี้ประกอบด้วย 8 วิธี ซึ่งแบ่งไปตามแต่ละประเภทขององค์อาคารนั้นคือ กรณีของเสา จะใช้ (ก) หุ้มด้วยแผ่นเหล็ก (ข) หุ้มด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และ (ค) หุ้มด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ กรณีของคาน จะใช้ (ง) วิธีเฟอโรซีเมนต์ (จ) วิธีแผ่นเหล็ก และ (ฉ) วิธีคาร์บอนไฟเบอร์ กรณีของแผงเสา-คาน นั่นคือ (ช) เสริมค้ำยันทแยง และกรณีของจุดต่อเสา-คาน นั่นคือ (ซ) เสริมบ่าคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยแต่ละวิธีมีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้ 1.การเสริมกำลังเสาอาคารด้วยวิธีพันหุ้มด้วยแผ่นเหล็ก ล้อมพื้นที่ในการปฏิบัติงาน สกัดผิวปูนฉาบออก ทำผิวคอนกรีตให้หยาบ รูปที่ 1-1 ล้อมพื้นที่ในการปฏิบัติงาน รูปที่ 1-2 สกัดผิวปูนฉาบออก รูปที่ 1-3 ทำผิวคอนกรีตให้หยาบ วัดขนาดและตัดเหล็ก เตรียมอุปกรณ์ในการทาสีกันสนิม ทาสีกันสนิม รูปที่ 1-4 วัดขนาดและตัดเหล็ก รูปที่ 1-5 เตรียมอุปกรณ์ในการทาสีกันสนิม … Read more

ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้าง – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพหรือรูปทรงของโครงสร้าง สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบคือ (1) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่ง (Vertical Structural Irregularities) และ (2) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวราบ (Plan Structural Irregularities) 1.5.1   ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่ง (Vertical Structural Irregularities) ความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างในแนวดิ่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ ความไม่สม่ำเสมอของสติฟเนส (Stiffness irregularity) หรือชั้นที่อ่อน (Soft story) โดย ชั้นที่อ่อนหมายถึง ชั้นที่มีสติฟเนสทางข้าง (Lateral Stiffness) มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 70 ของชั้นที่เหนือถัดขึ้นไปหรือน้อยกว่าร้อยละ 80 ของสติฟเนสเฉลี่ยของสามชั้นที่เหนือขึ้นไป (รูปที่ 1.11) รูปที่ 1.11 ความไม่สม่ำเสมอของสติฟเนส ความไม่สม่ำเสมอของมวล (Mass irregularity) หมายถึง มวลประสิทธิผล (Effective mass) ของชั้นใดๆมีค่ามากกว่าร้อยละ 150 … Read more

เกณฑ์กำหนดสำหรับการจำแนกอาคารตามลักษณะและรูปทรงของโครงสร้าง – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

การพิจารณาอาคารว่ามีลักษณะสม่ำเสมอตามกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยการก่อสร้างอาคารในเขตที่อาจเกิดแผ่นดินไหวหรือไม่ ให้ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ 1.4.1           บริเวณที่ 1 อาคารในบริเวณที่ 1 จะถือว่ามีลักษณะไม่สม่ำเสมอหากมีความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพหรือรูปทรงของโครงสร้างเป็นไปตามนี้ (1) อาคารที่มีประเภทกิจกรรมการใช้อาคารดังนี้ อาคารที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของสาธารณชน เช่น สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานีดับเพลิง อาคารศูนย์บรรเทาสาธารณภัย อาคารศูนย์สื่อสาร ท่าอากาศยาน โรงไฟฟ้า โรงผลิตและเก็บน้ำประปา อาคารเก็บวัตถุอันตราย เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ วัตถุกัมมันตรังสีหรือวัตถุที่ระเบิดได้ อาคารสาธารณะที่มีผู้ใช้อาคารได้ตั้งแต่สามร้อยคนขึ้นไป ได้แก่ โรงมหรสพ หอประชุม หอศิลป์ พิพิธภัณสถาน หอสมุด ศาสนสถาน สนามกีฬา อัฒจันทร์ ตลาด ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานีรถและโรงแรม สถานศึกษาที่รับนักเรียนหรือนักศึกษาได้ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบคนขึ้นไป อาคารดังกล่าวจะถือว่ามีลักษณะไม่สม่ำเสมอหากมีความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพของลักษณะหรือรูปทรงของโครงสร้างในแนวดิ่งหรือในแนวราบเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งในหัวข้อที่ 1.5.1 หรือ 1.5.2 ที่จะกล่าวต่อไป (2) อาคารประเภทกิจกรรมการใช้อาคารอื่นนอกเหนือจากข้อ (1) และมีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไปจะถือว่ามีลักษณะไม่สม่ำเสมอหากมีความไม่ต่อเนื่องทางกายภาพของลักษณะหรือรูปทรงของโครงสร้างในแนวดิ่งเป็นแบบไม่ต่อเนื่องของกำลัง (Discontinuity in capacity) หรือชั้นที่อ่อนแอ … Read more

แนวทางการประเมินโครงสร้าง – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

แนวทางการประเมินอาคารต้านทานแผ่นดินไหว การประเมินความสามารถต้านทานแผ่นดินไหวของอาคาร มักนิยมนำมาตรวจสอบอาคารที่มีอยู่เดิม เพื่อพิจารณาระดับสมรรถะในการต้านทานแผ่นดินไหวของอาคาร ความมั่นคงแข็งแรง และความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้ทราบตำแหน่งที่มีความอ่อนแอของอาคาร ซึ่งสามารถนำมาใช้วางแผนการซ่อมเสริมกำลังอาคารได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานการประเมินกำลังโครงสร้างต้านทานแผ่นดินไหวที่นิยมใช้และได้รับการยอมรับได้แก่ มาตรฐานนิวซีแลนด์ (New Zealand Society for Earthquake Engineering, 2006 , NZSEE) มาตรฐานอเมริกัน (American Society of Civil Engineers, 2007, ASCE/SEI41-06) มาตรฐานญี่ปุ่น (The Japan Building Disaster Prevention Association 2001) มาตรฐานยุโรป (European Committee for Standardization, 2004, EC8-03) มาตรฐานแต่ละมาตรฐาน มีวิธีการและปรัชญาในการประเมินที่ทั้งเหมือน และแตกต่างกันออกไป  โดยมุ่งเน้นให้สามารถประเมินความสามารถของอาคารให้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมจริงมากที่สุด สำหรับประเทศไทย ได้สร้างแนวทางการประเมินขึ้นเอง ได้แก่ มาตรฐานการประเมินและการเสริมความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารในเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ของกรมโยธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (มยผ. 1303-57) เป็นมาตรฐานที่มีความทันสมัย … Read more

กฏความปลอดภัยเพื่อป้องกันตัวเองจากสึนามิ – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

สึนามิเกิดขึ้นและมีผลถึงเราได้แม้แผ่นดินไหวจะเกิดห่างไกลข้ามทวีปออกไป หากรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหว ให้รีบหนีจากบริเวณชายฝั่งทะเลขึ้นไปบริเวณพื้นที่สูงทันที สึนามีไม่ได้มาเพียงคลื่นเดียว แต่จะตามมาเป็นระลอกหลายลูก จึงต้องรีบหนีไปอยู่ในที่ปลอดภัยจนกว่าจะมีประกาศเป็นทางการว่าพื้นที่บริเวณนั้นๆปลอดภัยแล้ว การที่น้ำทะเลลด ชายทะเลแห้งอย่างรวดเร็ว หรือมีน้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณล่วงหน้าว่าอาจจะมีคลื่นสินามิตามมา อย่าตามลงไปดูชายหาดที่น้ำลงมากๆโดยเด็ดขาด เพราะท่านจะหนีจากคลื่นสึนามิที่กำลังจะตามมาไม่ทัน อย่าประมาทเมื่อพบคลื่นสึนามิขนาดเล็กที่ไม่มีอันตรายมากที่บริเวณหนึ่ง เพราะอีกบริเวณหนึ่งซึ่งห่างออกไป 2-3 กิโลเมตร อาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงได้ คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้กับชายฝั่งมหาสมุทรทุกๆแห่ง แม้แต่ในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยก็ตาม ดังนั้นผู้ที่อาศัยตามชายทะเลจึงต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอ

ความรู้แผ่นดินไหวสำหรับประชาชน – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ที่ผ่านมาจะพบว่าประเทศไทย เกิดแผ่นดินไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดความเสียหายอย่างมาก ซึ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยจากเครื่องมือตรวจวัดของกรมทรัพยากรธรณี พบว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอแม่ลาว โดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปราว 6 กิโลเมตร จากพื้นดิน  และเกิดแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายร้อยครั้ง รูปที่ 1 จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว จ.เชียงราย เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โครงสร้างอาคาร บ้านพักอาศัย โรงเรียนเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน ดังแสดงในรูปที่ 2  จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงการออกแบบต้านทานแรงแผ่นดินไหวมากขึ้น ซึ่งจากการเข้าสำรวจการก่อสร้าง (ดูรูปที่ 3) หลังจากที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวไปได้ประมาณ 2 ปี พบว่าบ้านพักอาศัย อาคารสำคัญในจังหวัดเชียงราย ได้เห็นความสำคัญของการออกแบบเพื่อต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตกันมากขึ้น รูปที่ 2 ตัวอย่างความเสียหายจากแผ่นดินไหว จ. เชียงราย วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รูปที่ 3 การเข้าสำรวจ เมื่อเราพิจารณาถึงเมืองหลวงกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวเสียทีเดียว เนื่องจากกรุงเทพฯมีปัจจัยเสี่ยง 3 ประการคือ กรุงเทพฯตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อนที่ขยายแรงสั่นสะเทือนได้มาก … Read more

การให้บริการ – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ขอบข่ายการให้บริการของ TEIC มีดังต่อไปนี้ ให้บริการความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ซึ่งแบ่งแยกไว้ทั้งความรู้อย่างง่ายสำหรับประชาชน และความรู้เฉพาะตัวสำหรับวิศวกรโครงสร้าง แนะนำแหล่งข้อมูลเชิงลึกเพื่อการศึกษาต่อเนื่องและยั่งยืน

การป้องกันตนเองขณะเกิดแผ่นดินไหว – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

อย่าตื่นตระหนก แผ่นดินไหวทำให้อาคารสั่นเพียงชั่วครู่ อย่าวิ่งหนีออกจากอาคารในขณะที่อาคารยังสั่นอยู่ ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดแผ่นดินไหว ให้หลบลงใต้โต๊ะเพื่อป้องกันสิ่งของหล่นใส่ อย่าอยู่ใกล้ตู้เอกสาร ชั้นหนังสือ หรือตู้ใดๆที่จะล้มใส่ตัวท่านได้ อย่ายืนนอกระเบียงหรือใกล้หน้าต่างหรือติดผนังริมอาคาร อย่ายืนใกล้อาคารสูงขณะเกิดแผ่นดินไหว อาจมีกระจกแตก กระเบื้อง กระถางต้นไม้ ป้ายโฆษณาและวัสดุต่างๆหล่นจากที่สูงทำอันตรายได้ หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ รอจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุด ห้ามจุดไฟหรือทำให้เกิดประกายไฟ เพราะอาจมีแก้สรั่วอยู่บริเวณนั้น หากอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ หากอยู่ชายหาดให้รีบห่างออกจากช่ายฝั่งเพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิเข้าหาฝั่งได้

รูปแบบความเสียหายในจังหวัดเชียงราย – ศูนย์ข้อมูลแผ่นดินไหวไทย

ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว และแนวทางการเสริมกำลัง ในหัวข้อนี้ได้แสดงรูปแบบความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหวที่เชีนงรายเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2557 และแผ่นดินไหวครั้งสำคัญๆของโลก เพื่อเป็นการศึกษาความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว และแนวทางการเสริมกำลังที่เหมาะสม ความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาด 3 ริกเตอร์ ในจังหวัดเชียงราย จากการลงพื้นที่เพื่อสำรวจความเสียหาย อาคารพักอาศัย อาคารพาณิชย์ วัด และสะพานลอย ในเขต อ.พาน และ อ.แม่ลาว จ. เชียงราย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ภายหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ ศูนย์กลางที่ ต. ทรายขาว อ.พาน อยู่ลึกลงไปใต้ดินประมาณ 6 กม. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สอง รองจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.น่าน เมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 ที่มีขนาด 6.5 ตามมาตราริกเตอร์ … Read more